น้องๆ คงทราบดีว่า การสอบ IELTS เป็นการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียงและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะการไปเรียนต่อที่อังกฤษ ผลคะแนน IELTS ได้รับการยอมรับจากกว่า 10,000 องค์กรใน 140 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงโรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล นายจ้างสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และองค์กรวิชาชีพอื่น ๆ อีกมากมาย

และหลังจากที่คราวก่อน SI-UK ได้นำเอาคำแนะนำดี ๆ และทิปส์เด็ด ๆ ในการเตรียมสอบสองพาร์ทแรก นั่นคือ การฟังและการอ่าน ไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาต่อกันที่สองพาร์ทสุดท้าย นั่นคือการเขียนและการอ่าน นั่นเอง ส่วนจะยากหรือง่ายอย่างไร ไปดูกันเลยกว่า

การเตรียมความพร้อมการสอบ IELTS Writing 

ข้อสอบ IELTS ในส่วนของการเขียน จะแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ Academic Test และ General Test แล้วแต่ว่าน้อง ๆ เลือกสอบแบบไหน ถ้าเป็น Academic ส่วนใหญ่คือจะต้องอธิบายแผนภูมิ กราฟหรือแผนภาพ นอกจากนี้ยังให้เขียนเรียงความที่แสดงถึงมุมมองหรือข้อโต้แย้งของเรา ส่วนในการสอบแบบ General หรือทั่วไป ส่วนใหญ่คือจะมีสถานการณ์ให้มา จากนั้นเราต้องเขียนจดหมายชี้แจงสถานการณ์ พร้อมกับเรียงความ

การเตรียมสอบ IELTS ในส่วนของ Writing

1. อ่านตัวอย่างเรียงความหรือ Essay ให้เยอะ ๆ: หาอ่านบทความ ความเรียง หรือที่เรียกว่า Essay ตัวอย่าง ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงฝึกวิเคราะห์เรียงความอย่างรอบคอบ และศึกษาการเขียนประเด็นที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสำคัญในโครงสร้างของเรียงความ โดยมีข้อควรพิจารณา เช่น

  • ย่อหน้าแรกของเรียงความ ได้ขยาย Topic หรือทำให้หัวข้อของเรียงความชัดเจนขึ้นหรือเปล่า
  • พาดหัว (headline) ได้สะท้อนประเด็นหลักของเรียงความ หรือไม่
  • พิจารณาว่า นักเขียนได้เขียนใจความหรือประเด็นหลักของเรื่องออกมาอย่างไร

2. ฝึกเขียนเรียงความบ่อย ๆ: การลงมือฝึกฝนการเขียนเรียงความ เป็นเรื่องสำคัญมากในการเตรียมตัวสอบ โดยมีทิปส์ที่น้องๆ ควรจำให้ขึ้นใจ ได้แก่

  • เขียนประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ได้รับ เท่าที่นึกได้ ออกมาเป็นข้อๆ
  • จากนั้นให้ตัดประเด็นที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องหรือไม่แน่ใจออก เหลือไว้แต่ประเด็นที่ตอบโจทย์จริงๆ
  • กำหนดทิศทางของเรียงความว่า จะเป็นไปในรูปแบบใด ให้ชัดเจน โดยการวางโครงเรื่องที่จะเขียน ได้แก่ คำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป
  • ในการแสดงความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้ง (argument) ต่อเรียงความหรือบทความที่ได้อ่าน สิ่งสำคัญคือให้มุ่งไปที่ประเด็นหลักที่เราต้องการจะโต้แย้ง และไม่ควรแสดงมุมมองเกินกว่าหนึ่งมุมมอง เพราะอาจจะทำให้ผู้อ่านสับสน และเป็นผลเสียต่อการให้คะแนนได้

3. ฝึกเรื่องไวยกรณ์ หรือ Grammar อย่าให้ขาด: การฝึกฝนไวยากรณ์จะช่วยให้การเขียนเรียงความและบทสรุปของน้องๆ ปราศจากข้อความผิดพลาด หรือมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด และเนื่องจากเป็นการสอบภาษาอังกฤษ ดังนั้นไวยากรณ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่น้องๆ ควรจะฝึกฝนให้มากๆ ทั้งนี้ เรียงความของน้องๆ จะดูดีขึ้นมาทันทีในสายตาของคณะกรรมการผู้ตรวจกระดาษคำตอบ หากเขียนได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ทุกประการ

Tips ในการทำข้อสอบ Writing

  • แนะนำให้ทำข้อสอบส่วนที่สอง หรือ Task 2 ก่อน เพราะป็นส่วนที่คะแนนมากกว่า และง่ายกว่า
  • ควรทำข้อสอบทั้งสอง Task ให้ทันเวลาในการฝึกทำข้อสอบ เพื่อจะได้ทำความคุ้นเคยกับการทำข้อสอบในวันจริง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูด หรือ Informal Language ให้มากที่สุด ยกตัวอย่างที่ไม่ควรใช้ในการเขียนก็อย่างเช่น คำย่อ ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือ 2 สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ หรือเขียนอะไรเรื่อยเปื่อยที่นอกเหนือไปจากเนื้อหา
  • น้องๆ ควรขีดเส้นใต้ คำสำคัญๆ ที่เป็น Key ของบทความที่ได้อ่าน เพื่อจะได้จับใจความได้ว่า ควรเขียนคำตอบลงในข้อสอบอย่างไร
  • ในการเขียนคำตอบ ควรยึดเอา Topic หรือหัวข้อเป็นหลักในการตอบคำถาม และไม่เขียนคำตอบหรือข้อความที่ไม่จำเป็น

การเตรียมความพร้อมการสอบ – IELTS Speaking 

หนึ่งในพาร์ทที่น่าสนใจที่สุดของการทดสอบ IELTS คือส่วนของการสอบพูดหรือ Speaking ซึ่งน้องๆ จะต้องสอบแบบตัวต่อตัวกับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการสอบ โดยการทดสอบนี้จะเป็นการวิเคราะห์ความสามารถในการพูดและสนทนาภาษาอังกฤษ โดยใช้เวลาอยู่ระหว่าง 11 ถึง 14 นาที โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 part

Part 1: ในส่วนนี้ จะเป็นการถามคำถามทั่วไป เช่น เรื่องความสนใจส่วนบุคคล พื้นหลังทางวิชาการ ครอบครัวและอื่นๆ Tips สำหรับการทดสอบในพาร์ทนี้ ได้แก่

  • เพิ่มความน่าสนใจในการตอบคำถาม: การตอบคำถามอย่างตรงประเด็นนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่จะน่าสนใจกว่านี้ หากน้องๆ จะลองหยอดข้อเท็จจริงเพื่อเพื่มความน่าสนใจลงไปในคำตอบด้วย เช่น หากถูกถามว่า ‘where are you from?’ แทนที่จะตอบคำถามแบบทื่อๆ น้องๆ ก็อาจจะใส่รายละเอียดของเมืองที่เราอยู่อาศัยลงไปด้วยได้ เช่น อยู้ส่วนไหนของประเทศ มีชื่อเสียงในด้านไหน เป็นต้น
  • ต้องตื่นตัวและตอบสนองอย่างทันท่วงที: ไม่ว่าคำถามจะยากขนาดไหน แต่ผู้เข้าสอบควรต้องตอบสนองต่อคำถามทันที และแสดงความกระตือร้นตลอดระยะเวลาในการสอบ

Part 2: สำหรับพาร์ทนี้ น้อง ๆ จะได้รับหัวข้อ (Topic) และขอให้พูดหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 2-3 นาที ผู้ทดสอบจะพิจารณาทั้งทักษะการพูด และความรู้ของผู้สอบเป็นสำคัญ ดังนั้นน้อง ๆ จะต้อง

  • คิดและเรียบเรียงไอเดียก่อนพูด: จากข้อที่แล้ว แม้มันจะเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะตอบสนองต่อคำถามโดยทันที แต่การหยุดและเรียบเรียงความคิดในหัวสักนิดหน่อยก็ยังมีความสำคัญ เพื่อช่วยกลั่นกรองให้สิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไปชัดเจนขึ้น ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น
  • มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ถูกถาม: เป็นสิ่งสำคัญ ที่น้อง ๆ ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังพูดอยู่ รวมทั้งสามารถสื่อสารประเด็นสำคัญของหัวข้อที่ได้รับอย่างถูกต้อง

Part 3: ในส่วนสุดท้ายนี้ จะเป็นการวัดทักษะในการโต้แย้งหรือให้เหตุผล โดยผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามเกี่ยวกับ Topic จากส่วนที่แล้ว โดยนำเอาคำตอบ ความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งของเรามาถามต่อยอด เพื่อให้เราลงรายละเอียดหรือเจาะจงในส่วนที่เราได้ให้ความเห็นไป

  • จำความคิดเห็น หรือข้อโต้แย้งของตัวเองให้ได้: อย่างที่บอกไปว่า ผู้สัมภาษณ์จะนำเอาความเห็นหรือข้อโต้แย้งของน้อง ๆ จากในพาร์ทที่แล้วมาถามต่อ เพื่อให้เราลงรายละเอียด ดังนั้นควรต้องจำให้แม่นว่าเราให้ความเห็นไปว่าอย่างไรบ้าง ไม่ควรแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าเรากำลังตกใจ อึ้ง หรืองงกับคำถามเด็ดขาด
  • ไม่พูดจาสับสน: คำตอบของน้อง ๆ ควรตรงประเด็น ไม่สับสน หรือสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจ เป็นสิ่งสำคัญที่ควรแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นความตั้งใจและความกระตือรือร้นที่จะตอบคำถามทุกคำถาม

เทคนิคในการทำข้อสอบ IELTS Speaking

  • นี่เป็นพาร์ทที่น้อง ๆ จะได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนาจริง ๆ ดังนั้นควรพูดให้คล่องแคล่วและมั่นใจที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
  • ลองฝึกพูดคุยหรือซ้อมสัมภาษณ์ที่บ้าน โดยบันทึกเสียงหรือวิดิโอเก็บไว้เพื่อนำมาฟัง เพื่อปรับปรุงและแก้ไข เช่น เรื่องของไวยกรณ์ หรือการออกเสียง เป็นต้น
  • ไม่แนะนำให้ท่องจำหรือเตรียมคำตอบล่วงหน้า เพราะผู้ดำเนินการสอบอาจถามเกี่ยวกับอะไรก็ได้
  • วิธีที่ดีที่สุดในการตอบคำถามคือ ตอบไปตามความคิดเห็นของเราจริง ๆ ซึ่งจะทำให้เราใช้ภาษาได้คล่องแคล่วกว่าการนึกคำตอบที่อยู่ไกลตัว
  • จำไว้ว่า ในการสัมภาษณ์ ไม่มีคำตอบใดผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของการให้เหตุผลสนับสนุน หรือความสามารถในการใช้ภาษา ที่สำคัญคือไอเดียหรือความคิดเห็นของเราควรชัดเจน ไม่สร้างความสับสน
  • หลีกเลี่ยงในการใช้ Filler Words เช่น ‘are’ ‘um’, ‘uh’, ‘er’, ‘ah’, ‘like’, ‘okay’, ‘right’, หรือ ‘you know’ อันจะแสดงถึงความลังเล ไม่แน่ใจ ในการแสดงความคิดเห็น

สนใจไปเรียนต่อที่ UK

นอกจากนี้ น้อง ๆ ที่สนใจจะสมัครเรียนต่ออังกฤษ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ก็สามารถ ลงทะเบียนเพื่อขอรับคำปรึกษาจากพี่ ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อของ SI-UK ได้ฟรี! ตั้งแต่วันนี้ค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Tips เตรียมสอบ IELTS พาร์ท Listening & Reading

IELTS tips: ข้อผิดพลาดง่ายๆในการเขียน Writing ที่คุณสามารถแก้ไขได้ทันที