น้อง ๆ บางคนอาจจะยังไม่รู้จัก Peer Review ว่ามันคืออะไร สำคัญแค่ไหน ต้องใช้ตอนไหน วันนี้ทาง SI-UK จะมาอธิบายให้ฟัง!
Peer Review อะไร ยังไง?
Peer Review คือ การตรวจทานผลงานที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง (ที่ไม่ใช่ผู้ผลิตงานชิ้นนั้น) เทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ และผู้ที่จะทำหน้าที่ตรวจผลงานของผู้อื่นได้ จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเหมือนกับผู้ผลิตผลงานชิ้นนั้น หรือเชี่ยวชาญกว่า โดยส่วนมากมักจะให้เพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกันเป็นผู้ตรวจทาน
Peer Review สำคัญไหม หากจะไปศึกษาต่อปริญญาที่ต่างประเทศ ?
ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญนะคะ การไปศึกษาต่อปริญญา มักจะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ก็จำเป็นที่จะต้องมีการ Peer Review SI-UK ขอยกตัวอย่าง ในผลงานทางวิชาการที่ทั่วโลกยอมรับ มักจะเป็นผลงานตีพิมพ์ที่ผ่านการ Peer Review และต้องได้รับการยอมรับจากแวดวงวิชาการด้วยกัน ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศในตะวันตกและสหรัฐฯ เขามีข้อกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนมีผลงานนำเสนอที่ผ่านการ Peer Review จากผู้เชี่ยวชาญ เป็นตัวกำหนดมาตรฐานการทำงานและการมีโอกาสได้ตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น นักศึกษาเองก็จะเลือกเรียน หรือเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีผลงานแบบนี้ เรียกได้ว่า Peer review นี้จำเป็นต่องานของทั้งอาจารย์และนักศึกษาเลยทีเดียว
เป้าหมายในการตรวจสอบ Peer Review
- สามารถตรวจพบจุดผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
- เพื่อตรวจสอบว่าชิ้นงานที่ทำเป็นไปตามคุณสมบัติ (Specification) ที่กำหนดหรือไม่
- เพื่อระบุว่ามีรายการใดหรือส่วนใดที่เบี่ยงเบน (Deviation) จากมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่
- เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ทำไมต้องมีการ Peer Review ?
- ต้องการได้ข้อมูลสะท้องเชิงวิชาการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการปฏิบัติงาน
- เป็นกระบวนการที่ทำให้มองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยอิงประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- เพื่อให้เห็นคุณค่าของการได้ข้อมูลสะท้อนที่ช่วยในการปรับปรุงพัฒนา จึงไม่ควรเป็นกระบวนการจากการถูกบังคับหรือสั่งการให้ต้องทำ
ใครบ้างที่สามารถทำ Peer Review ให้เราได้ ?
- หัวหน้างานในองค์กร
- เพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน
- อาจารย์ที่ปรึกษา
- ผู้ที่มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลงานที่เข้าไป Peer Review
สิ่งสำคัญในการทำ Peer Review มีอะไรบ้าง ?
- การสนทนากับผู้เกี่ยวข้องในหลักสูตรทุกคน (ประมาณ 5-10 คน)
- การเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานเทียบกับเป้าหมายของหลักสูตรหรือผลงานนั้น
- การตรวจสอบร่องรอยข้อมูลหลักฐานเพิ่มเติมจากที่หลักสูตรรายงาน
- การสังเกตการปฏิบัติงาน เช่น การเรียนการสอน
- การวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการประเมิน
- การสนทนาหารือร่วมกันกับผู้บริหารเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการหาแนวทางการปรับปรุงพัฒนา
Peer Review ที่ดีต้องใช้ระยะเวลา เพื่อพิจารณา ตรวจทาน และตัดสินผลงานดังกล่าว ผลจะเป็นได้สามแบบ คือ ให้ผ่าน (acceptable) ให้ผ่านแต่ต้องปรับแก้ (acceptable with revisions) และ ไม่ผ่าน (rejected) การสื่อสารผลการประเมินสามารถทำได้แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่ต้องมีการตกลงกับผู้ผลิตผลงานนั้น เกี่ยวกับเป้าหมายของการรายงานผล ซึ่งต้องเข้าใจตรงกัน แม้จะได้ข้อมูลป้อนกลับมา แต่ผู้ผลิตผลงานก็มีอิสระที่จะตัดสินใจว่าจะทำตามข้อเสนอแนะหรือข้อมูลป้อนกลับของผู้ทำการ Peer Review หรือไม่ แต่ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งที่ดี การใช้วิธีการ Peer Review แบบนี้จึงเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตผลงาน ได้ปรับปรุงและพัฒนาขึ้น
Apply to Study in the UK
หากสนใจหรือต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในอังกฤษ หรือในสหราชอาณาจักร น้อง ๆ สามารถ ดูบริการของ SI-UK ได้ที่นี่ หรือจะลงทะเบียนกับ SI-UK ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อใน UK เพื่อขอรับข้อมูล คำแนะนำต่าง ๆ ได้ฟรี! ตั้งแต่วันนี้
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
MBA, MLS, MPA, LLM, MA, และ MEng แตกต่างกันอย่างไร?
Take the first step towards studying abroad!
ความประทับใจ นักเรียนของเรา
Priyal
On working with StudyIn counsellors
Ananya
เธอจะมาเล่าประสบการณ์ที่มีต่องาน StudyIn university fair
Anoop
เขาจะพูดถึงสิ่งที่ StudyIn ได้รับก่อนที่จะไปเรียนต่อ
Mariyah
On her StudyIn language prep classes
Navdisha
เธอจะมาเล่าถึง StudyIn ช่วยเลือกมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่ใช่อย่างไร
Nishtha
เธอจะมาเล่าถึงประสบการณ์ขอรับคำปรึกษาแบบตัวต่อกับพี่เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ StudyIn
Shivani
เขาจะมาเล่าถึงได้รับการได้รับทุนการศึกษา 2 ทุนผ่าน StudyIn
Tushita
เขาจะมาเล่าถึงการมีที่ปรึกษาส่วนตัวจาก StudyIn