การสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั้น SOP (Statement of purpose) หรือ Personal Statement หรือการเขียนจดหมายเเนะนำตัว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักที่สำคัญในการสมัครเข้าศึกษาต่อ นอกจากคะแนน GPA, คะแนน TOEFL หรือ GRE หรือ GMAT หนังสือ Recommendation จากหัวหน้างานหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย รวมทั้ง Resume หรือ Curriculum Vitae (CV) เพราะนักศึกษาหลายคนอาจจะมีผลการเรียนและเคยมีประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นมากกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นการเขียน SOP นั่นเอง
เรามาดู 4 เทคนิคที่จะช่วยเขียน SOP ให้เป็นเรื่องง่ายกัน
(อ่านเพิ่มเติม เขียน SOP หรือ Statement of Purpose ยังไงให้โปรไฟล์ของคุณดูโดดเด่น)
1. หา Gimmick ของเราให้เจอ
Gimmick (กิมมิค) ก็คือจุดช่วยจำ หรือ ลูกเล่น มีเพื่อให้เกิดการจดจำและการพูดถึง น้องๆ ต้องออกแบบโครงสร้าง SOP โดยพิจารณาจากประวัติของตัวเอง ถ้านึกภาพไม่ออกขอแนะนำแนวทาง ดังนี้ค่ะ เช่น ถามตัวเองว่า
อยากเรียนอะไร – คณะรัฐศาสตร์
ทำไมถึงอยากเรียน – เพราะเราเกิดมาในต่างจังหวัด ซึ่งความช่วยเหลือของภาครัฐเข้าไม่ถึง จึงอยากเรียนรัฐศาสตร์ ต้องการที่จะเป็นนักการเมืองท้องถิ่น มีหน้าที่ผลักดันช่วยเหลือจังหวัดของเรา
ทำไมต้องเป็นที่มหาวิยาลัยนี้ – เพราะที่นี้มีวิชา Public Financial Management ซึ่งน่าสนใจมาก ปกติเด็กรัฐศาสตร์จะไม่ค่อยรู้เรื่องการเงิน ซึ่งเรามองว่าเป็นจุดอ่อน จึงคิดว่าการเรียนที่นี้หลักสูตรนี้ จะมีประโยชน์ในการแก้จุดอ่อนนั้น นอกจากนี้ยังเอามาช่วยในการพัฒนาชุมชนของบ้านเกิดของคุณ ซึ่งมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น
เรามีประสบการณ์อะไรที่เกี่ยวข้องไหม – เรามีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานภาครัฐในไทย ที่อาจนำมาแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนในคลาสได้ นอกจากนี้ เรายังเคยทำกิจกรรม CSR เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวชนบทที่จังหวัดบ้านเกิด และทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการพัฒนาชุมชน โดยผลการวิจัยพบว่ามีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่นสำคัญ เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นขาดความรู้
ประเด็นที่ยกตัวอย่างเหล่านี้ บางอย่างอาจดูไม่สำคัญ แต่มันคือ Passion ของตัวน้อง ๆ ที่สามารถกำหนด story line ได้จากเค้าโครงเหล่านี้ หากลองตีความจากเหตุการณ์ตัอย่างนี้ จะเห็นว่า กิมมิคของผู้สมัครคนนี้ คือการที่เขามีประสบการณ์ในวัยเด็กที่เคยต้องประสบกับปัญหาในด้านการช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นแรงจูงใจให้อยากเรียนด้านรัฐศาสตร์ มีเป้าหมายและพยายามพัฒนาทักษะเพื่อให้ผ่านโครงการ CSR ต่าง ๆ มองเห็นว่าจุดอ่อนชุมชน คือมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น จึงเป็นเหตุจูงใจให้ต้องการมาเรียนต่อที่นี่ หลักสูตรนี้เท่านั้น
2. พยายามทำให้คณะกรรมการจดจำ
จินตนาการว่าเรากำลังโฆษณาขายตัวเราเองให้กับมหาวิทยาลัย อันนี้เป็นเทคนิคการเขียนให้น่าสนใจ ให้นึกถึงการเขียนเรียงความให้ชนะรางวัล จะ Intro ยังไง Conclude ยังไงเขาอ่านแล้วจำเราได้จากการที่มีผู้สมัครเป็นพันๆคน เขียน SOP (Statement of Purpose) อย่างไรให้มีลุ้น!
โดยต้องเล่าเรื่องให้ดูน่าสนใจ อันนี้คือเทคนิคการเขียนที่เราจะเอาโครงสร้างเหล่านั้นมาเขียนเล่าเรื่องให้กรรมการอ่านแล้ว รู้สึกน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ Intro ต้องทำให้เขาอยากอ่าน และ Conclude ต้องทำให้เขาจดจำ Conclude ของเรื่อง ต้องสอดคล้องกับ Intro ที่สำคัญน้อง ๆ ควรเขียน SOP ด้วยตัวเอง ไม่ควรนำประโยคของผู้อื่นมาดัดแปลง เพราะมันคือสิ่งที่แสดงถึงตัวเรา ลอกกันไม่ได้อยู่แล้ว ถ้ามหาวิทยาลัยพบว่าเราเอางานของคนอื่นมาใช้หรือดัดแปลง เราจะโดนมหาวิทยาลัยปฏิเสธเลยนะ และไม่ควรเขียน SOP แบบเดียว แล้วส่งให้กับทุกมหาวิทยาลัยที่เราสมัคร เพราะเหตุผลในการเลือกเรียนหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นไม่เหมือนกัน เราควรสร้างความแตกต่างของ SOP แต่ละอันนะคะ
3. เราจะ Contribute อะไรให้มหาวิทยาลัยได้บ้าง
ตรงนี้เป็นจุดที่มักจะโดนมองข้าม ในการเขียน SOP ผู้เขียนเน้นบอกเพียงแต่ว่าอยากได้อะไรจากมหาวิยาลัยบ้าง ลืมบอกไปว่าเราจะให้อะไรกับมหาวิทยาลัยได้บ้าง อันนี้อาจใส่แค่สั้น ๆ ก็ได้ เช่น เคยมีประสบการณ์ในการร่วมงานกับหน่วยงานในภาครัฐของประเทศไทย ซึ่งสามารถแชร์มุมมองของการพัฒนาภาครัฐใน Developing countries ให้แก่นักเรียนในคลาสได้
4. เนื้อหาบนกระดาษที่สวยงาม
พูดกันถึงเรื่องข้อมูลที่จะเขียนลงไปแล้ว มาดูกันในใบจริง ๆ ที่เราต้องส่งให้คณะกรรมการพิจารณากันดีกว่า ว่าต้องเป็นยังไง จุดแรกเลยชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร และคอร์สที่สมัครจะต้องอยู่บนหัวกระดาษเสมอ เน้นย้ำว่าควรพิมพ์ใส่กระดาษ A4 เลือก font ให้ดูน่าอ่านและเป็นทางการ ไม่ควรเขียนด้วยลายมือ ข้อความที่พิมพ์จะใช้ British English หรือ American English ให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควรใช้ผสมกัน พยายามใช้ประโยคและคำง่าย ๆ ได้ใจความ และตรงประเด็น ไม่ต้องใช้คำศัพท์เข้าใจยาก เพราะนี่เป็นสิ่งที่บอกมหาวิทยาลัยว่าเราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง หลีกเลี่ยงการใช้คำคม เนื้อหาใน SOP ควรเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเราเอง ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นเคยพูด
ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะทำให้การเขียน SOP นั้นง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากน้อง ๆ ยังไม่ค่อยมั่นใจในการเขียน SOP ก็สามารถใช้บริการช่วยเหลือกับพี่ๆ ทาง SI-UK พี่ๆพร้อมช่วยเช็คเรื่องการเรียงลำดับ โครงสร้าง ประโยค และสำนวนในการเขียน รวมไปถึงการตรวจสอบ Grammar ให้อีกด้วย เพียงติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่อของเรา พร้อมทั้งสามารถค้นหาตัวอย่างการเขียนได้ที่นี่
Apply to Study in the UK
หากน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษ หรือ อยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร และสาขาวิชาต่าง ๆ ประจำปี 2021 สามารถลงทะเบียนกับ SI-UK เพื่อรับคำปรึกษา ฟรี!
Take the first step towards studying abroad!
ความประทับใจ นักเรียนของเรา
Priyal
On working with StudyIn counsellors
Ananya
เธอจะมาเล่าประสบการณ์ที่มีต่องาน StudyIn university fair
Anoop
เขาจะพูดถึงสิ่งที่ StudyIn ได้รับก่อนที่จะไปเรียนต่อ
Mariyah
On her StudyIn language prep classes
Navdisha
เธอจะมาเล่าถึง StudyIn ช่วยเลือกมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่ใช่อย่างไร
Nishtha
เธอจะมาเล่าถึงประสบการณ์ขอรับคำปรึกษาแบบตัวต่อกับพี่เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ StudyIn
Shivani
เขาจะมาเล่าถึงได้รับการได้รับทุนการศึกษา 2 ทุนผ่าน StudyIn
Tushita
เขาจะมาเล่าถึงการมีที่ปรึกษาส่วนตัวจาก StudyIn