ในการสมัครศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสำหรับนักเรียนนานาชาติคงจะเคยได้ยินคำว่า หลักสูตร International Baccalaureate (IB) กันมาพอสมควร ซึ่งในบางมหาวิทยาลัยก็ต้องการคะแนนสอบวัดระดับการศึกษาหลักสูตร IB แต่หลักสูตรนี้มันคืออะไร? สำคัญกับเราอย่างไร? มาหาคำตอบกัน!

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าหลักสูตร IB Programme หรือที่ย่อมาจาก International Baccalaureate นั้นเป็นระบบการศึกษาที่มีการใช้แพร่หลายทั่วโลกถึง 125 ประเทศ โดยวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการจัดตั้งหลักสูตรนี้ก็เพื่อให้มีระบบการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพื่อให้นักเรียนที่มีความจำเป็นหรือต้องการเปลี่ยนสถาบันการศึกษาบ่อยครั้งได้ศึกษาในหลักสูตรนี้ เพื่อที่จะเอาคะแนนไปยื่นเข้าสอบ หรือ สมัครเรียนต่อในสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในต่างประเทศได้นั่นเอง

โดย IB Programme จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • หลักสูตรการศึกษาระดับต้น (IB Primary Years Programme, PYP) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 3 ถึง 12 ปี
  • หลักสูตรการศึกษาระดับต้น (IB Middle Years Programme, MYP) สำหรับนักเรียนอายุ 11 ถึง 16 ปี
  • หลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรนานาชาติ (IB Diploma Programme, IBDP) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 16 ถึง 19 ปี

ซึ่งหลักสูตร IB ทั้งสามระดับนี้ได้ถูกรวบรวมและประยุกต์จากระบบการศึกษาต่างๆทั่วโลก และยังถือว่าเป็นที่ยอมรับจากมหาวิทยาลัยและรัฐบาลทั่วโลกอีกด้วย โดยเฉพาะหลักสูตร IB ที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆก็คือหลักสูตร IB Diploma Programme ในระดับที่ 3 ซึ่งเป็นหลักสูตรในระดับเดียวกันกับ A Level ถ้าแปลง่ายๆก็คือหลักสูตรที่เป็นรอยต่อระหว่าง High School กับ College/University หรือเป็นหลักสูตรการเรียนเพื่อเอาคะแนนสอบไปใช้ยื่นสมัครศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศรวมถึงมหาวิทยาลัยใน UK ด้วยนั่นเองค่ะ

โดยรายวิชาในหลักสูตร IB Diploma Programme จะมีทั้งหมด 6 กลุ่ม ดังนี้

  • Literature เรียนภาษาและวรรณคดีภาษาอังกฤษ
  • Second Language เช่น ภาษาฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน อิตาเลียน
  • Individuals and Societies เช่น จิตวิทยา ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ การจัดการและธุรกิจ
  • Experimental Sciences เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
  • Mathematics and Computer Science เช่น วิธีการทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ระดับกลางและสูง
  • Arts and Electives เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ละครเวที ทัศนศิลป์

นอกจากนี้นักเรียนจะต้องผ่านการเรียนอีก 3 รายวิชาคือ

  • Theory of Knowledge (ToK)

เป็นวิชาที่ออกแบบเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และสังคม เช่น ความเข้าใจ อารมณ์ ภาษาและเหตุผล ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงกฏระเบียบในแนวทางวัฒนธรรมของตนเองและวัฒนธรรมของโลก เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ คณิตศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เป็นต้น

  • Extended Essay (EE)

เป็นเรียนเพื่อการเขียนเรียงความในหัวข้อที่ตนเองสนใจโดยจะมีความยาว 4,000 คำ

  • Creativity, Action, Service (CAS)

เป็นการทำกิจกรรมนอกโรงเรียนที่นักเรียนต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 50 ชั่วโมงในแต่ละกิจกรรม นั่นเอง โดย

  1. Creativity หมายถึง กิจกรรมที่ใช้ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างกิจกรรมใหม่ ๆ
  2. Action หมายถึง กิจกรรมการเล่นกีฬา
  3. Service หมายถึง การมีส่วนร่วมและทำกิจกรรมเพื่อสังคม

Apply to Study in the UK Jan Intake 2021

หากน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษ หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร และสาขาวิชาต่าง ๆ ประจำปี 2021 สามารถลงทะเบียนกับ SI-UK เพื่อรับคำปรึกษา ฟรี! 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

5 คณะสุดฮิตที่นักเรียนไทยนิยมไปเรียนต่อที่อังกฤษ

เคล็ดลับสำหรับฝึก IELTS reading part ที่ควรทำทุกวัน

5 มหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่ม Russell Group ที่ใครๆก็อยากไปเรียน